ขายออกแล้ว ‘ตึกสาทร ยูนิค’ 4 พันล้าน เจ้าของใหม่ พูดชื่อรู้จักทั้งประเทศ

ขายออกแล้ว ‘ตึกสาทร ยูนิค’ 4 พันล้าน เจ้าของใหม่ พูดชื่อรู้จักทั้งประเทศ

ตึกสาธร ยูนีค ทาวเวอร์ (Sathorn Unique Tower) อาคารร้างสูง 49 ชั้นกลางกรุงเทพฯ ได้ปิดการขายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในราคาสูงถึง 4,000 ล้านบาท ล่าสุดคนจับผิด หรือจะจ้อจี้

ตึกร้าง สาทร ยูนีค ยืนเด่นเป็นสง่า บนถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ ผลจากวิกฤติต้มยำกุ้งปี 40 เป็นหนึ่งในตึกที่ถูกกล่าวถึงด้านความแข็งแกร่ง หลังแผ่นดินไหวกรุงเทพ จนมีข่าวคนประกาศขายในราคา 4 พันล้านบาทเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ สุภาพ มิ่งศิริ ซึ่งระบุว่าเป็นนายหน้าผู้ดูแลการขายอาคาร ได้โพสต์ประกาศขายตึกสาธร ยูนีค พร้อมข้อมูลว่าอาคารดังกล่าวมีที่ดินขนาด 3.19 ไร่ ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ถูกรบกวนทัศนียภาพโดยโครงการมรดกโลก

แม้อาคารจะยังสร้างไม่เสร็จเนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 (IMF) แต่ถูกออกแบบอย่างวิจิตรโดย อาจารย์รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ สถาปนิกชื่อดังของไทย โดยมีระบบโครงสร้างรองรับแรงแผ่นดินไหว พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกระดับไฮเอนด์ เช่น สระว่ายน้ำ และทำเลใกล้รถไฟฟ้า BTS รวมถึงโรงแรมหรูริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ล่าสุด วันที่ 1 เมษายน เพจเฟซบุ๊กของนายหน้าคนเดิมได้โพสต์ว่า ตึกสาธร ยูนีคสามารถปิดการขายได้สำเร็จในราคา 4,000 ล้านบาท โดยระบุข้อความว่า

“มาขายตึกคับ ขายได้แล้ว นะคับ ตึกสาธร 4 พันล้านบาท ป้ามาพรีเซ้นแบบก่อสร้าง EIA เดิม มาเหมือน นักเลงเลย ลูกค้า เจอป้าตื่นเต้นกว่าเจอโฉนดที่ดินอีก ขอบพระคุณ ลูกค้า ที่สนใจ 3 หมื่น แปดพัน หกแสนคน

แต่คนขอซื้อ ได้แค่คนเดียวนะคับ ป้ายังมีที่ดินที่กรุงเทพ อีก 200 กว่าแปลง ตึกอีก 80 กว่าตึก ให้ขายนะคับ โปรดอุดหนุนป้าด้วย นะคับ บ้านนอกเข้ากรุง ของแทร่”

โพสต์ดังกล่าวยังเปิดเผยว่ามีผู้สนใจเข้าชมโพสต์มากถึง 38,600 คน แต่สุดท้ายผู้ที่ปิดดีลได้มีเพียงรายเดียว ซึ่งนายหน้ายืนยันว่า ผู้ซื้อเป็น “คนไทย” หากเปิดตัวจะเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปอย่างแน่นอน

ในเวลาต่อมา โซเชียลมีเดียแห่แสดงความยินดี พร้อมตั้งข้อสงสัยและความคาดหวังต่ออนาคตของตึกแห่งนี้ที่กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของเมือง หวังว่าจะได้รับการบูรณะให้กลับมาใช้งานได้อย่างสมศักดิ์ศรี

ทั้งนี้ “ตึกสาธร ยูนีค” ได้รับฉายาว่าเป็น “ตึกผี” หรือ “ตึกที่ยังไม่เสร็จที่โด่งดังที่สุดในกรุงเทพฯ” และเป็นที่รู้จักในวงกว้างจากการถูกนำไปเป็นโลเคชันถ่ายทำสารคดี ภาพยนตร์เพื่อนที่ระลึก ของ GTH มาแล้ว

ที่มา: เฟซบุ๊ก ไทยรัฐนิวส์โชว์

ที่มา: เฟซบุ๊ก ไทยรัฐนิวส์โชว์

ส่อคดีพลิก ขายตึกสาธร ยูนิค นายหน้าลบโพสต์เฟซ บรรจง จับผิด

ล่าสุด หลังจากกระแสข่าวขายตึกแพร่ไปทั่วโซเชียล ทีมข่าวไทยเกอร์ได้ตรวจสอบเฟซบุ๊ก ของนายหน้าอสังหาที่ลงประกาศโตึกอีกครั้ง พบว่าโพสต์ดังกล่าวไม่มีอยู่แล้ว

ขณะที่เซฟบุ๊ก เฮียบรรจง ของบรรจง ชีวมงคลกานต์ ผู้ประกาศข่าวดัง ได้ต้้งข้อสังเกตไว้ว่าอาจเป็นเรื่องจ้อจี้ เจ้าของตึก อาจารย์รังสรรค์ป่วยอยู่โรงพยาบาลหลายวันแล้ว

“ข่าวปิดการขายตึกร้าง’สาธรยูนีค’ 4 พันล้าน ได้กลิ่นดราม่าว่าจะเป็นเรื่องจ้อจี้ นายหน้าต้นเรื่องลบโพสต์แล้ว มีคนบอกว่าอาจารย์รังสรรค์ เจ้าของตึกไม่ได้ขาย นอนป่วยอยู่รพ.หลายวันแล้ว”

“อ่าว! นายหน้าที่อ้างขายตึก’สาธรยูนีค’4พันล้าน บอกกับนักข่าวเวิร์คพอยท์ว่ายังไม่ได้ทำสัญญานายหน้ากับเจ้าของตึก กำลังจะเข้าไปทำสัญญานายหน้า แต่ติดต่อคนจะซื้อได้แล้ว เอ๊ะยังไง? [ 2 เม.ย.68 ]” บรรจงระบุเพิ่มเติม

เปิดตำนาน เบื้องหลังตึกสาทร ยูนีค อ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ สถาปนิกผู้ถูกทำลาย กับความพังทลายที่ไม่ได้เกิดจากโครงสร้าง แต่จากกระบวนการยุติธรรม

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม เพจเฟซบุ๊ก “ช่างกฎหมายมันส์-Letitbelaw” ได้เผยแพร่โพสต์เล่าเรื่องราวชีวิตของ อาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ สถาปนิกชื่อดัง ผู้ออกแบบตึกสาทร ยูนีค ทาวเวอร์ อาคารยังไม่เคยถูกใช้จริง เพราะหยุดสร้างลงกลางคันจากวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ปี 2540

แต่สิ่งที่ทำให้โครงการต้องกลายเป็น “โครงสร้างที่ยังไม่เสร็จตลอดกาล” กลับไม่ใช่เพียงแค่ปัญหาเศรษฐกิจ หากแต่เป็นผลพวงจาก คดีความร้ายแรงที่ลากอาจารย์เข้าสู่การพิจารณาของศาล ในยุคที่เพจดังกล่าวเรียกว่า “วิกฤตตุลาการ”

อาจารย์รังสรรค์ ถูกจับในข้อหาพัวพันคดีลอบสังหารประธานศาลฎีกาในขณะนั้น และถูกศาลชั้นต้นตัดสินจำคุก 15 ปี แม้ในเวลาต่อมาศาลฎีกาจะพิพากษาให้พ้นผิดและเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ก็ไม่อาจย้อนคืนความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชีวิตได้

“เมื่อโดนคดี นักลงทุนหนีหาย ไม่มีเงิน ตึกก็ไปต่อไม่ได้” — ข้อความหนึ่งในโพสต์ระบุ

แม้ในอดีต อาจารย์รังสรรค์เคยเป็นสถาปนิกแนวหน้าที่กล้าแตกต่าง ด้วยการนำเสนองานออกแบบสไตล์กรีก-โรมัน ที่เน้นความโค้งมนและอ่อนช้อย ท่ามกลางยุคที่นิยมความแข็งและเรขาคณิต งานออกแบบของท่านยังรวมถึงสนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน ซึ่งเป็นผลงานร่วมกับทีมวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แต่หลังการถูกดำเนินคดี ภาพชีวิตก็เปลี่ยนไปตลอดกาล ท่านต้องกลายเป็น “บุคคลล้มละลาย” ไม่มีเงินทุนเดินหน้าโครงการ ตึกสาทร ยูนีคจึงกลายเป็นเพียงซากความฝันที่สูงเสียดฟ้า แต่ไร้การใช้สอยมานานกว่า 20 ปี

ทุกวันนี้ อาจารย์รังสรรค์หันหน้าเข้าหาศาสนา และเป็นที่รู้จักในวงการพระเครื่องในฐานะ “เซียนพระ” ที่มีความรู้และได้รับการยอมรับจากผู้คนจำนวนมาก

เพจ “ช่างกฎหมายมันส์” ทิ้งท้ายข้อเสนอว่า “ประธานศาลฎีกาควรมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน” เพื่อให้ความยุติธรรมไม่ผูกขาดอยู่กับอำนาจจากเบื้องบน และขอให้กรณีของอาจารย์รังสรรค์เป็นบทเรียนหนึ่งของสังคมว่า “ระบบยุติธรรมที่ไม่เป็นธรรม สามารถทำลายคนดีได้จริง”

สิ่งที่ถล่มไม่ใช่ตึก แต่คือชีวิตคนหนึ่งคน ขอให้ประชาชนช่วยกันรักษาสติ และเอาชีวิตรอดให้ได้ในประเทศนี้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง


ขอบคุณเนื้อหาจาก Thaiger https://thethaiger.com/th/news/1379387/